การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย
ผลกระทบเศรษฐกิจโลกและไทย จากการปรับตัวของ GDP จีน
การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมายังคงได้รับความกดดันจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรฐกิจโลก สงครามการค้า การส่งออก กำลังซื้อภายในประเทศตลอดจนปัจจัยการเมือง จากการที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนมีนาคม ที่ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลต่อความเชื่อมั่นด่านเศรฐกิจการค้า การลงทุนของประเทศไทยทั้งในสายตาของภาคธุรกิจและนักลงทุนทั้งของไทยและต่างประเทศ และที่สำคัญคือการที่เศรฐกิจจีนลดความร้อนแรงอย่างต่อเนื่องจน GDP ของจีนในปี2561 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ28ปีซึ่งมีแนวโน้มที่จะยังคงขยายตัวในทิศทางที่ลดลงต่อเนื่อง ในปี2562
สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ได้มองทิศทางของเศรษฐกิจไทยในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งGDP ของปี2561 ที่เคยคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 4.5แต่สุดท้ายกลับโตได้ร้อยละ4.0 เท่านั้น
นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ได้เปิดงานและร่วมฟัง “ผลกระทบเศรษฐกิจโลกและไทย จากการปรับตัวของ GDP จีน” ในช่วงเปิดงานได้รับเกียรติจาก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ความร่วมมือด้านคมนาคมไทย-จีน จุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจที่ยั่งยืน”
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มองว่า จีนเติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 30-40 ปีที่ผ่านมา สมัยก่อนจีนโตเร็ว แต่พอผ่านมาระยะหนึ่งก็เริ่มมาพัฒนาเรื่องของสุขภาพ สมอง และจิตภาวะ นี่คือคำตอบว่าทำไม GDP ถึงต้องชะลอตัวลง ถ้า GDP จีนอยู่ในระดับเลขสองหลักอยู่คงทะเลาะกับประเทศอื่น ๆ สมัยก่อนโตจากฐานเล็ก อัตราการเติบโตจึงสูง แต่ปัจจุบันฐานใหญ่ขึ้น การเติบโตระดับนี้ก็ถือว่าสูงแล้ว
ในขณะที่ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) ก็เห็นพ้องว่า เศรษฐกิจจีนไม่ว่าจะ 6.0 หรือ 6.5 ก็ถือว่าไม่น่ากลัว พร้อมให้เหตุผลว่า การเติบโตของจีนในรอบนี้ไม่ได้เน้นที่ปริมาณแต่เน้นคุณภาพ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจีน เริ่มตั้งเป้าในเชิงคุณภาพชีวิต หลักธรรมาภิบาล เรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ นโยบาย Made in China 2025 ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า จีนต้องการที่จะทำให้สินค้าของจีนไม่ใช่แค่ราคาถูก แต่เป็นสินค้าที่มีคุณภาพด้วย.