สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 มี.ค. 65
ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4 ช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. 65พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ กรุงเทพมหานคร (115 มม.) จ.พังงา (101 มม.) และ จ.นครศรีธรรมราช (97 มม.)
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน/เสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก บริเวณ กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 28,203 ล้าน ลบ.ม. (49%) ขนาดใหญ่ 22,290 ล้าน ลบ.ม. (47%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล แม่จาง และ สิริกิติ์)
คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากอิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค. 65 บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดย กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือ ดังนี้
ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มม. และพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ รวมถึงการระบายน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำให้สอดคล้องกับการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล
เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ ให้พร้อมช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ