เถาเปาขึ้นบัญชีดำสินค้าปลอมสหรัฐฯอีก
ตัวแทนด้านการค้าของสหรัฐฯ ได้จัดเว็บไซต์เถาเปา ของบริษัทอาลีบาบา ไว้ในรายชื่อบัญชีดำเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากสงสัยว่าจะมีการขายสินค้าปลอมบนเว็บไซต์ ซึ่งถึงจะถูกจัดขึ้นบัญชีดำ แต่ทางบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่กลับระบุว่า ไม่มีผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่มีการป้องกัน IP แต่อย่างใด
สำหรับเถาเปา มาร์เก็ตเพลซ ซึ่งบริหารโดยบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง ถือเป็นหนึ่งในตลาดสินค้าออนไลน์กว่า 25 แห่ง รวมถึงตลาดจริงอีก 18 แห่ง ที่ถูกจัดอันดับให้เป็นตลาดที่สร้างชื่อเสียมากที่สุดประจำปีโดย USTR สำหรับตลาดแต่ละแห่งที่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และสินค้าปลอม
เถาเปา ถือเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและแหล่งขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เคยหลุดจากอันดับดังกล่าวมาแล้วในปี 2555 และ 2558 แต่ก็กลับมาขึ้นบัญชีดำอีกครั้งในปี 2559 และ 2560
ในขณะที่การติดอันดับครั้งนี้ของเถาเปาไม่ได้ก่อให้เกิดการลงโทษโดยตรงแต่อย่างใด แต่ก็มีส่วนทำลายความพยายามของบริษัทอาลีบาบาที่ต้องการจะลบล้างทัศนคติที่ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเต็มไปด้วยสินค้าปลอม และนโยบายการต่อต้านสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งยังไม่มากพอ
ทาง USTR ระบุว่า “ มีรายงานถึงสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมากที่จำหน่ายอยู่บนเว็บไซต์ Taobao.com อยู่อย่างต่อเนื่อง ด้านผู้ถือหุ่นส่วนใหญ่ยังคงมีการท้าทายและป่าวประกาศถึงความความเกี่ยวข้องกับผู้บังคับใช้ IP บนเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ตลอด ”
ด้าน USTR รับรู้ถึงความพยายามของอาลีบาบาที่จะยุติการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนเถาเปา แต่ก็ได้กล่าวถึงรายนามสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยังคงหนาแน่นและยังมียอดขายต่อเนื่องถือเป็นการท้าทายอย่างหนึ่ง
ทางอาลีบาบาได้ออกมาแก้ต่างให้กับทางบริษัทเองว่า ทางอาลีบาบาได้ทำให้การใช้โปรแกรมการป้องกัน IP ง่ายดายกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้มีการลงทะเบียนเพิ่มขึ้น 11% และยังมีรายชื่อซึ่งถูกปฏิเสธคำขอลงทะเบียนลดลงถึง 25% หลังจากได้ทำการถอดรายชื่อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ก่อนจะสามารถเข้ามาขายสินค้าบนตลาดออนไลน์ได้
ทาง USTR ระบุว่า ข้อมูลของทางอาลีบาบาไม่ได้สะท้อนให้เห็นขอบเขตและสถานะของการแก้ปัญหาสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์เถาเปาโดยตรง แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคืบหน้าในความพยายามที่จะป้องกันสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น
นอกจากนี้ยังชี้ว่า การจัดการของอาลีบาบานั้นมุ่งเน้นให้ความสนใจกับแบรนด์ระดับโลกมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก.