ข่าวเด่น ข่าวดัง ประจำวันที่ 26-27 พ.ย. 2564
“เป็นประเด็นขึ้นมาทันทีเมื่อสหรัฐอเมริกา เทียบเชิญ 110 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย แต่ปรากฎว่า ไร้ชื่อประเทศไทยในบรรดา 110 ประเทศนั้น ภาพของ “บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม โชว์เหนือจับมือกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระหว่างเดินทางเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ COP 26 ที่สหราชอาณาจักร เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แทบจะหมดความหมายในทันที เพราะสหรัฐฯ ไม่ได้เชิญไทยเข้าร่วมประชุมครั้งสำคัญที่จะมีขึ้นนี้”
เรื่องที่ 534 คำถามคือ ประเทศไทย หรือรัฐบาลไทย ไม่เป็นประชาธิปไตยหรืออย่างไร สหรัฐฯ จึงเมินไม่เชิญเข้าร่วมประ ชุมดังกล่าว ทั้งที่รัฐบาลไทยก็มาจากการเลือกตั้ง แม้ก่อนหน้านี้ผู้นำรัฐบาลจะก่อการปฏิวัติรัฐประหารก็ตาม
ด้าน “ดอน ปรมัติวินัย” รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การต่างประเทศ ตอบกระทู้สภาผู้แทนราษฎรในเรื่องนี้ว่า “ไม่เชิญไม่แปลก บางเรื่องดีใจ ที่ไม่ได้รับเชิญ แต่หากเชิญ เราต้องพิจารณาว่าจะไปหรือไม่ เพราะหลายกรณีเป็นดาบสองคม ไม่ใช่ไม่มีคำเชิญแล้วต้องกระทืบเท้าเสียใจ โลกเป็นจริงไม่เป็นแบบนั้น ความจริงของชีวิตต่างประเทศไม่ได้เป็นอย่างที่หลายคนเข้าใจ”
นั่นก็เป็นปฏิกิริยาหรือท่าทีของไทยภายหลังสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะเชิญเข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย โดยจะเห็นว่ารัฐบาลเองก็ไม่ได้เป็นเดือดเป็นร้อนอะไร มีแต่ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ที่พยายามด้อยค่า
เรื่องที่ 535 จับจริง-ปรับจริง “บรรจง สุกรีฑา” เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ประกาศเตือนผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต มอก.ทั้งในประเทศและผู้นำเข้ากว่า 10,000 ราย ต้องแสดง QR Code คู่กับเครื่องหมาย มอก.ให้ประชาชนตรวจสอบรายละเอียดของสินค้าได้ ก่อนตัดสินใจซื้อ หากไม่ดำเนินการมีโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท และอาจถูกพักใช้ใบอนุญาตอีกด้วย ผู้รับใบอนุญาต รีบดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย สะ!! หาก สมอ.ตรวจพบจะตัก เตือนก่อนในครั้งแรกและหากพบการกระทำผิดซ้ำโดนปรับแน่ เพราะกฎ ระเบียบนี้ ผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา
เรื่องที่ 536 คงจะรอโรงไฟฟ้าภาคใต้ ของ กฟผ.ไม่ไหว “วีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงต้องไปจับมือกับบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC และบริษัท ทรานส์ ไทย- มาเล เซีย (ประเทศไทย ) จำกัด หรือ TTM พัฒนาโรงไฟฟ้าในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จ.สงขลา เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาด้านพลังงานหลากหลายรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพมากขึ้น ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างศึกษาและคัดเลือกเทคโนโลยี รูปแบบการผลิตและรูปแบบการลงทุนธุรกิจ สำหรับแหล่งเชื้อเพลิงจะมีก๊าซธรรม ชาติที่มีระบบโครงข่ายท่อขนส่งก๊าซของ TTM และพลังงานจากชีวมวลจากภาคการเกษตร ใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 ปี ก็จะได้ข้อสรุป สร้างโรงไฟฟ้าเองดีกว่า ได้ใช้ไฟฟ้าแน่นอน ชัวร์กว่าเยอะจริงมั้ย
เรื่องที่ 537 งานนี้ ต้องส่งเสริม และให้กำลังใจกันมากๆ เพราะขณะนี้ หน่วยงานที่โดดเด่น เป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หนีไม่พ้น “อีอีซี” ภายใต้การนำของ “พี่คณิศ-คณิศ แสงสุพรรณ” เลขาธิการ สกพอ. ล่าสุด ยิ้มแก้มปริ เมื่อ 4 โครงการยักษ์ที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบppp สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) 2.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3.โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ 4.โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F
โดยทั้ง 4 โครงการ มีมูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนภาคเอก ชน 416,080 ล้านบาท คิดเป็น 64% และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 238,841 ล้านบาท คิดเป็น 36% โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบ แทนสุทธิ 210,352 ล้านบาท
ดังนั้น ใครกังขาหาว่า “อีอีซี” ดูดเงินงบประมาณรัฐ สร้างประโยชน์ไม่คุ้มค่าเศรษฐกิจไทย ถือว่า “คิดผิด” เพราะทั้ง 4 โครงการเมื่อรวมเม็ดเงินแล้ว ภาคเอกชนลงทุนมากกว่าภาครัฐ และที่สำคัญงบประมาณที่ภาครัฐลงทุนไปนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและยังเป็นงบบูรณาการอีกด้วย
เรื่องที่ 538 ข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ย. 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม26.15 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิ 27.98 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 172,820 ล้านบาท ขณะที่ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิ 91,080 คน จากผู้ได้รับสิทธิจำนวนกว่า 490,000 ราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชนรวม 3,491 ล้านบาท โปรดทราบด้วยว่า ทั้ง 2 โครงการนี้ จะใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2564 เท่านั้น
เรื่องสุดท้าย 539 ไม่ใช่หน้าที่หลัก แต่ต้องทำเป็นประจำทุกๆ ปี ล่าสุด ธ.ก.ส. จับมือ 6 ภาคีเครือข่ายร่วมลดการเผาอ้อยเพื่อลดฝุ่นละออง PM 2.5 ประกอบด้วย สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อย เขต 7 ศูนย์ประสานงานโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง (กลุ่มโรงงานน้ำตาลลุ่มแม่น้ำแม่กลอง 9 โรงงาน และโรงงานน้ำตาลนิวกรุงไทย ที่เป็นพันธมิตร) สมาคมส่งเสริมอาชีพการเกษตรสุพรรณบุรี โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี โรงงานน้ำตาลมิตรผล และโรงงานน้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล (อู่ทอง) ในการสนับสนุนและดูแลชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการลดการเผาอ้อยเพื่อลดฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ 3 จังหวัดที่มีการผลิตอ้อยมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี พื้นที่กว่า 1.5 ล้านไร่ ตั้งเป้าลดการเผาอ้อยให้ได้ 100% ภายในปี2566 ถือเป็นเรื่องดีที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง.
โดย นพวัชร์