ฮอนด้าลงทุนในสหรัฐฯผลิตแอคคอร์ด
บ.ฮอนด้ามอเตอร์ประกาศเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ว่า จะลงทุนจำนวน 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8,880 ล้านบาทและจะสร้างงานใหม่ 300 ตำแหน่งงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์รุ่นแอคคอร์ดสำหรับปี 2561 ที่โรงงานในแมรีสวิลล์ รัฐโอไอโอในสหรัฐฯ
โดยฮอนด้าเผยโฉมล่าสุดของรุ่นแอคคอร์ดเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา นับเป็น 1 ใน 4 รุ่นซีดานขนาดกลางที่มีการปรับโฉมใหม่หมด และฮอนด้ามุ่งมั่นที่จะคว้าชัยในตลาดให้ได้ เนื่องจากคู่แข่งที่เมืองดีทรอยต์ ต่างพากันผลิตรถประเภทเอสยูวี ครอสโอเวอร์ และรถกระบะมากกว่า
แอคคอร์ดโฉมใหม่ มีสมรรถนะที่เหมือนรถยนต์คู่แข่งในประเภทเดียวกันอย่างโตโยต้าคัมรี คือให้แรงม้าเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีความปลอดภัยทีมีมาตรฐานระบบหยุดรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนปะทะ และอัตราการประหยัดน้ำมันที่ดียิ่งขึ้น แต่ทางฮอนด้าไม่ได้เปิดเผยตัวเลข
การลงทุนของฮอนด้าในรัฐโอไอโอจะประกอบด้วยการลงทุนที่โรงงานในเมืองแมรีสวิลล์ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินลงทุนใหม่อีก 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ 342 ตัวในแผนกเชื่อม นอกจากนี้ จะลงทุน 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่โรงงานผลิตเครื่องยนต์ที่เมืองอันนา ซึ่งจะผลิตเครื่องยนต์เทอร์โบสำหรับรุ่นแอคคอร์ด
นอกจากนี้ โรงงานที่แมรีสวิลล์ยังผลิตรถยนต์ Acura TLX ซึ่งเป็นรถซีดานขนาดกลางหรูหรา และ Acura ILX รถหรูขนาดกะทัดรัดอีกด้วย จากการลงทุนใหม่ โรงงานจะสามารถผลิตรถได้ถึง 440,000 คันต่อปี และสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตรุ่นแอคคอร์ดได้เท่าที่จำเป็น Steve Rodriguez ประธานฝ่ายการผลิตรุ่นแอคคอร์ดของฮอนด้ากล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา
Ray Mikiciuk ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายขายของฮอนด้ากล่าวว่า บริษัทไม่ได้คาดการณ์ยอดขายของแอคคอร์ด แต่เสริมว่า “ ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยอดเยี่ยมอย่างนี้ ผมไม่คาดว่าจะขายแอคคอร์ดได้น้อยลงในปีหน้า ”
ทั้งนี้ การประกาศการลงทุนของฮอนด้ามีขึ้นตามหลังโตโยต้าในเดือนส.ค.ที่ประกาศแผนจะเข้าถือหุ้น 5% ในมาสด้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพันธมิตรที่จะร่วมลงทุนสร้างโรงงานผลิตในสหรัฐฯ มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อผลิตรถไฟฟ้า
ข่าวโรงงานนีัสร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ในช่วงเวลาที่ยอดขายรถยนต์รุ่นใหม่ในสหรัฐฯกำลังซบเซา และยังสวนทางกับความเคลื่อนไหวของเจเนรัล มอเตอร์ ( จีเอ็ม) และฟอร์ด มอเตอร์ที่กำลังประสบกับยอดขายรถซีดานที่ลดลง โดยทางจีเอ็มตัดเวลาทำงานในกะที่ 3 ลงในโรงงานทั้ง 2 แห่งและปรับแผนย้ายไปผลิตรุ่นโฟกัสที่จีนแทนเม็กซิโก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปลดพนักงานออกมากกว่า 1,000 คนในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
ยอดขายรถโดยสารลดลงอย่างมีเสถียรภาพมาตั้งแต่ปี 2555 เมื่อมียอดขายคิดเป็น 51.2% ของตลาดสหรัฐฯ โดยรถซีดานมียอดขายลดลงและมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 38.1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560.
บ.ฮอนด้ามอเตอร์ประกาศเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ว่า จะลงทุนจำนวน 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8,880 ล้านบาทและจะสร้างงานใหม่ 300 ตำแหน่งงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์รุ่นแอคคอร์ดสำหรับปี 2561 ที่โรงงานในแมรีสวิลล์ รัฐโอไอโอในสหรัฐฯ
โดยฮอนด้าเผยโฉมล่าสุดของรุ่นแอคคอร์ดเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา นับเป็น 1 ใน 4 รุ่นซีดานขนาดกลางที่มีการปรับโฉมใหม่หมด และฮอนด้ามุ่งมั่นที่จะคว้าชัยในตลาดให้ได้ เนื่องจากคู่แข่งที่เมืองดีทรอยต์ ต่างพากันผลิตรถประเภทเอสยูวี ครอสโอเวอร์ และรถกระบะมากกว่า
แอคคอร์ดโฉมใหม่ มีสมรรถนะที่เหมือนรถยนต์คู่แข่งในประเภทเดียวกันอย่างโตโยต้าคัมรี คือให้แรงม้าเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีความปลอดภัยทีมีมาตรฐานระบบหยุดรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนปะทะ และอัตราการประหยัดน้ำมันที่ดียิ่งขึ้น แต่ทางฮอนด้าไม่ได้เปิดเผยตัวเลข
การลงทุนของฮอนด้าในรัฐโอไอโอจะประกอบด้วยการลงทุนที่โรงงานในเมืองแมรีสวิลล์ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เงินลงทุนใหม่อีก 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ 342 ตัวในแผนกเชื่อม นอกจากนี้ จะลงทุน 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่โรงงานผลิตเครื่องยนต์ที่เมืองอันนา ซึ่งจะผลิตเครื่องยนต์เทอร์โบสำหรับรุ่นแอคคอร์ด
นอกจากนี้ โรงงานที่แมรีสวิลล์ยังผลิตรถยนต์ Acura TLX ซึ่งเป็นรถซีดานขนาดกลางหรูหรา และ Acura ILX รถหรูขนาดกะทัดรัดอีกด้วย จากการลงทุนใหม่ โรงงานจะสามารถผลิตรถได้ถึง 440,000 คันต่อปี และสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตรุ่นแอคคอร์ดได้เท่าที่จำเป็น Steve Rodriguez ประธานฝ่ายการผลิตรุ่นแอคคอร์ดของฮอนด้ากล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา
Ray Mikiciuk ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายขายของฮอนด้ากล่าวว่า บริษัทไม่ได้คาดการณ์ยอดขายของแอคคอร์ด แต่เสริมว่า “ ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยอดเยี่ยมอย่างนี้ ผมไม่คาดว่าจะขายแอคคอร์ดได้น้อยลงในปีหน้า ”
ทั้งนี้ การประกาศการลงทุนของฮอนด้ามีขึ้นตามหลังโตโยต้าในเดือนส.ค.ที่ประกาศแผนจะเข้าถือหุ้น 5% ในมาสด้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพันธมิตรที่จะร่วมลงทุนสร้างโรงงานผลิตในสหรัฐฯ มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อผลิตรถไฟฟ้า
ข่าวโรงงานนีัสร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ในช่วงเวลาที่ยอดขายรถยนต์รุ่นใหม่ในสหรัฐฯกำลังซบเซา และยังสวนทางกับความเคลื่อนไหวของเจเนรัล มอเตอร์ ( จีเอ็ม) และฟอร์ด มอเตอร์ที่กำลังประสบกับยอดขายรถซีดานที่ลดลง โดยทางจีเอ็มตัดเวลาทำงานในกะที่ 3 ลงในโรงงานทั้ง 2 แห่งและปรับแผนย้ายไปผลิตรุ่นโฟกัสที่จีนแทนเม็กซิโก เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปลดพนักงานออกมากกว่า 1,000 คนในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
ยอดขายรถโดยสารลดลงอย่างมีเสถียรภาพมาตั้งแต่ปี 2555 เมื่อมียอดขายคิดเป็น 51.2% ของตลาดสหรัฐฯ โดยรถซีดานมียอดขายลดลงและมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 38.1% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560.