72 ปีระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมา
เมื่อวันที่ 6 ส.ค.เป็นวันครบรอบ 72 ปีที่มีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกที่เมืองวันครบรอบ 72 ปี โดยความเห็นขัดแย้งที่มีมายาวนานเกี่ยวกับอาวุธร้ายแรงนี้กลับเข้ามาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง
โดยการจัดงานครบรอบนี้มีขึ้นหลังจากญี่ปุ่นเข้าข้างฝ่ายพลังงานนิวเคลียร์สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ในการเมินเฉยต่อสนธิสัญญาของสหประชาชาติที่ว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง ซึ่งถูกปฏิเสธจากเกาหลีเหนือตลอดมา
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่เคยได้รับผลกระทบจากอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กล่าวในพิธีฉลองครบรอบประจำปีที่สวนอนุสรณ์สถานสันติภาพฮิโรชิมาว่า ญี่ปุ่นหวังที่จะผลักดันให้โลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ในวิถีทางที่ทุกประเทศเห็นพ้องกัน
“สำหรับเราในการผลักดันให้โลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ เราต้องการการมีส่วนร่วมทั้งฝ่ายที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และไม่มีอาวุธนิวเคลียร์” นายกรัฐมนตรีอาเบะกล่าว
“ประเทศของเรายึดมั่นที่จะนำประชาคมนานาชาติโดยให้การสนับสนุนทั้งสองฝ่าย เพื่อทำให้กระบวนการก้าวหน้าท่ามกลางการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์” ผู้นำญี่ปุ่นกล่าวโดยไม่ได้อ้างถึงสนธิสัญญาของสหประชาชาติโดยตรง
โดยมีผู้มาร่วมในพิธีมากกว่า 5,000 คน ทั้งเหยื่อผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ ผู้เป็นลูกหลานของพวกเขา นักกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ และตัวแทนจาก 80 ประเทศและภูมิภาค
ขณะที่ผู้นำญี่ปุ่นกล่าวสุนทรพจน์อยู่นั้น ก็มีกลุ่มผู้ชุมนุมมารวมตัวกันเพื่อประท้วงต่อต้านความพยายามของนายกฯ อาเบะที่จะให้มีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เน้นด้านความสงบเรียบร้อยและนโยบายอื่นๆที่ผู้ประท้วงมองว่า จะเป็นการนำสงครามมาสู่ญี่ปุ่น รวมถึงข่าวฉาวที่ทำให้ความนิยมในตัวนายกฯ อาเบะตกต่ำลง
ผู้ประท้วงนับร้อยคนชูป้ายประท้วงและตะโกนว่า “ต่อต้านสงครามและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” และ “อาเบะต้องลงจากตำแหน่ง” ทางการญี่ปุ่นวิจารณ์สนธิสัญญาห้ามครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของสหประชาชาติว่าเท่ากับเป็นการแบ่งแยกให้ชัดเจนระหว่างประเทศที่มี และไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ โดยไม่มีประเทศใดเลยใน 9 ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ในขณะนี้ได้มีส่วนร่วมในการเจรจาประนีประนอมและลงมติเกี่ยวกับสนธิสัญญานี้
ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ยังอยู่ในตำแหน่งคนแรกที่มาเยือนฮิโรชิมาเมื่อเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว เพื่อแสดงความเคารพต่อเหยื่อผู้เสียชีวิตจากระเบิดที่มีอานุภาพทำลายล้าง.