เศรษฐกิจปี63 ติดลบต่ำสุดในรอบ 22 ปี
สศช.เผยการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี63 ขยายตัวติดลบ 6.1% ต่ำสุดในรอบ22 และต่ำสุดในรอบ 11 หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของโลก เมื่อปี2552 (วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์) โดยมีสาเหตุหลักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างหนัก แต่ในปีนี้ มีแนวโน้มดีขึ้น คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.5-3.5% มีค่าระหว่างกลาง 3%
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า เศรษฐกิจไทยปี2563 มีอัตราการเติบโต ติดลบ 6.1% ถือเป็นอัตราการเติบโตติดลบในรอบ 22 ปี นับจากปี2541 หลังจากที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 และเป็นอัตราการเติบโตที่ติดลบในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่สหรัฐฯ เกิดวิกฤติเมื่อปี 2552 หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ โดยสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 ที่เริ่มตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว และจนถึงปัจจุบันสถานการ์ก็ยังทวีความรุนแรง โดยมีผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกกว่า 109 ล้านคน ขณะที่คนไทย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 24,714 คน มีผู้เสียชีวิต 82 คน
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี2563 ติดลบ 4.2% ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับติดลบ 6.4% ในไตรมาสที่ 3 ทำให้ รวมทั้งปี2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลง หรือติดลบ 6.1% เมื่อเทียบกับการขยายตัว 2.3% ในปี 2562
ขณะที่ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 2.5 – 3.5% ค่ามีกลางอยู่ระหว่าง 3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญประกอบด้วย 1.แนว โน้มกำรฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก 2.แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ 3.การกลับมาขยายตัวของ อุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ และ 4.การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี2563
ทั้งนี้ คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้ำในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.จะขยำยตัว 5.8% การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวมขยายตัว 2.0% และ 5.7% ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0 – 2.0% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของจีดีพี
สำหรับประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2564 สศช.เห็นว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาดและการป้องกันการกลับมาระบาดรุนแรงภายในประเทศ โดย
1.การดำเนินตามมาตรการการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และการจัดหาและบริหารจัดการวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพียงพอต่อการสร้างภูมิ คุ้มกันหมู่อย่างรวดเร็วและจัดลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนในกำรฟื้นฟูกิจกรรมทำงเศรษฐกิจในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญและกำรรักษาความต่อเนื่องของกำรผลิตในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ควบคู่ไปกับกำรจัดลำดับความสำคัญตำมหลักกำรทำงสาธารณสุข
2.การรักษาบรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศ
3.การดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว โดยเฉพาะภาคกำรท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งการฟื้นตัวยังมีข้อจำกัดจากมาตราการควบคุมกำรเดินทำงระหว่างประเทศ รวมทั้งการพิจารณามาตราการช่วยเหลือภรคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มเติม
4.การรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
5.การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศ โดย ต้องเร่งการขับเคลื่อนกำรส่งออกสินค้ำที่ได้รับประโยชน์จการการระบาดของโรค การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของสินค้ำไทยควบคู่ไปกับกำรดำเนินมาตราการป้องกันกำรระบาดของโรคในพื้นที่ฐานกำรผลิตสำคัญอย่ำงเข้มงวด
รวมถึงการขยายความร่วมมือทำเศรษฐกิจและการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือที่สำคัญ และการให้ความสำคัญกับข้อ ตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญๆ ที่อาจถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทำงการค้า การพัฒนาคุณ ภาพและมาตรฐานสินค้า
กำรลดต้นทุนกำรผลิตสินค้ำที่สำคัญ ๆ เพื่อลดแรงกดดันจำกกำรแข็งค่ำของเงินบาท และการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่ำเงิน 6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยให้ความสำคัญกับกำรเร่งรัดให้ผู้ประกอบกำรที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมกำรลงทุนในช่วงปี 2561 – 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง
การแก้ไขปัญหำที่เป็นอุปสรรคต่อกำรลงทุนและกำรประกอบธุรกิจ การดำเนินมามาตรการส่งเสริมกำรลงทุนเชิงรุกและอำ นวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การขับเคลื่อนกำรลงทุนในเขตพัฒนเศรษฐกิจพิเศษ และ กำรขับเคลื่อนมมาตรการสร้างศักยภาพ การขยายตัวทำงเศรษฐกิจในระยะยำวอย่ำงต่อเนื่อง 7.การเตรียมความพร้อมสำ หรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8.การเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งและการดูแลรายได้เกษตรกร และ 9.การติดตามและเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมี แนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงและอำจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมควบคู่ไปกับกำรให้ความสำคัญกับการดูแลเสถียร ภาพทางเศรษฐกิจ