จีนอ้างสกัดก๊าซมีเธนจากน้ำแข็งไฟ
จีนพบแหล่งทรัพยากรพลังงานใต้พื้นทะเลจีนใต้ ประกาศครั้งแรกสามารถสกัดแยกก็าซมีเธนจาก “น้ำแข็งไฟ” หวังนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานใหม่ในอนาคต ท่ามกลางกรณีพิพาทกรรมสิทธิเหนือพื้นที่หมู่เกาะในทะเลจีใต้ยังไม่ได้ข้อยุติลงตัว
โลกมีความหวังกับแหล่งพลังงานใหม่ หลังจีนประกาศความสำเร็จครั้งแรกสกัดก๊าซออกจากผลึกสีขาวโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งแห้งพบบริเวณพื้นทะเลจีนใต้ สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้อีกเหลือเฟือในอนาคตอันใกล้ผลึกโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งแห้งที่ว่า คือ “มีเธน ไฮเดรตส์” หรือ “มีเธน คลาเธรตส์” — Methane hydrates // Methane clathrates เรียกกันอย่างเข้าใจง่าย คือ “น้ำแข็งไฟ” — Flammable ice ลักษณะผลึกก้อนองค์ประกอบด้วยน้ำล้อมรอบกลุ่มก๊าซมีเธน “น้ำแข็งไฟ” ก่อตัวขึ้นภายใต้สภาพอุณหภูมิต่ำและความกดดันสูง พบได้มากมายตามพื้นมหาสมุทรหรือใต้พื้นผิวโลกชั้นดินเยือกแข็งถาวร (Permafrost) แม้ “น้ำแข็งไฟ” ถูกนำมาอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำก็จุดติดไฟได้ตลอดเวลา ทั้งให้พลังงานจากก๊าซมีเธนมากมาย รายงานระบุผลึก “มีเธน ไฮเดรตส์” ขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ให้ก๊าซมีเธนคุณภาพสูงมากถึง 160 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณก๊าซมีเธนมากกว่าได้จาก Shale gas หรือก็าซจากชั้นหินดินดานกว่า 10 เท่า อย่างไรก็ตาม “น้ำแข็งไฟ” ถูกค้นพบนานแล้วในพื้นที่ตอนเหนือของรัสเซียตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 แต่นักวิจัยเพิ่งเรียนรู้สกัดแยกก๊าซออกจากก้อนชั้นตะกอนใต้ทะเลได้เมื่อ 10 -15 ปีมานี้เองหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่นต่างรู้ดีถึงแหล่งพลังงานใหม่ดังกล่าว แต่ถ้าต้องพัฒนาเก็บเกี่ยวทรัพยากรมาใช้มากระดับการทำเหมืองยังยุ่งยากซับซ้อน นอกจากนั้น สหรัฐและแคนาดาก็อยู่ระหว่างร่วมศึกษาหาทางเก็บเกี่ยว “น้ำแข็งไฟ” จากพื้นที่ชั้นดินเยือกแข็งถาวรแถบรัฐอลาสก้าและแคนาดา หวังนำมาใช้ทดแทนแหล่งพลังงานคาร์บอนหรือน้ำมันในอนาคตอันใกล้ ขณะที่จีนพบ “แหล่งน้ำแข็งไฟ” แถบทะเลจีนใต้ตั้งแต่ปี 2550 แต่พื้นที่พบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติยังเป็นดินแดนพิพาทแย่งกรรมสิทธิครอบครองโดยหลายประเทศ รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเเซียและไต้หวัน จึงยังยากถ้าจีนพยายามเดินหน้าขุดเก็บเกี่ยว “น้ำแข็งไฟ” ขึ้นมาใช้เพื่อผลประโยชน์ตัวเองถ่ายเดียว อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของ “น้ำแข็งไฟ” หรือ “มีเธน ไฮเดรตส์” ถ้ารั่วไหลสู่บรรยากาศโลกยิ่งก่อผลร้ายมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย.