อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยปี 2020
Economic Intelligence Center (EIC)ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยปี 2020 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซล
ในปี 2020 สต็อกน้ามันปาล์มโลกมีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้ เพื่อการบริโภคของอินเดีย และจีน อีกทั้งการผลิตไบโอดีเซลของอินโดนีเซีย และมาเลเซียที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการเพิ่มของผลผลิต ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ามันปาล์มโลก มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,550-2,650 ริงกิตมาเลเซีย/ตัน จากในปี 2019 ที่ราคา เฉลี่ยอยู่ที่ 2,129 ริงกิตมาเลเซีย/ตัน สอดคล้องกับแนวโน้มราคาน้ามันปาล์มดิบ ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น
สาหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมน้ามันปาล์มในไทยคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ในปี 2020 โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากมาตรการเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ามันดีเซล ที่ให้น้ามัน B10 เป็นน้ามันเกรดมาตรฐาน และน้ามัน B7 และ B20 เป็นน้ามันทางเลือก นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะหนุนให้สภาวะน้ามันปาล์มล้นตลาด ค่อย ๆ คลี่คลายลง โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยน้ามันปาล์มในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมา อยู่ที่ 23.0-24.0 บาท/กก. จาก 18.2 บาท/กก. ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม ต้องจับตา ความต่อเนื่องของมาตรการนี้ต่อไป เนื่องจากตัวแปรสาคัญคือปริมาณผลผลิต ปาล์มน้ามันในประเทศซึ่งอาจส่งผลให้มีการปรับอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ามันดีเซล และแนวโน้มราคาในระยะต่อไป
สำหรับความต้องการใช้น้ำมันปาล์มโลกในปี 2020 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.6%YOY จาก 72.6 ล้านตันในปี 2019 เป็น 74.5 ล้านตันในปี 2020 โดยเป็นผลมาจากปริมาณการใช้ของอินเดีย จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยประเทศผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มที่สำคัญ อย่างอินเดียและจีน มีแนวโน้มใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น ตามการบริโภคของประชากรในประเทศ ในขณะที่อียูมีแนวโน้มนำเข้าน้ำมันปาล์มลดลงเล็กน้อย จากนโยบายลดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งที่ผลิตมาจากพืชที่ก่อให้เกิดการใช้พื้นที่ที่มีการกักเก็บคาร์บอนสูง ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในพืชที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้
สำหรับประเทศที่ผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกและใช้เองในประเทศ อย่างมาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีแนวโน้มใช้น้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศดังกล่าวหันมาส่งเสริมการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศ โดยรัฐบาลมาเลเซียประกาศปรับเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลจาก B10 ในปี 2019
มาเป็น B20 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2020 และใช้ทั้งประเทศก่อนกลางปี 2021 และตั้งเป้าเพิ่มเป็น B30 ต่อไปในอนาคต เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังตลาดอียู ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซีย
ก็ประกาศเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล จาก B20 ในปี 2019 มาเป็น B30 ในเดือนมกราคมปี 2020
ซึ่งจะช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตน้ำมันปาล์มในอินโดนีเซียออกจากตลาดได้ค่อนข้างมากจากความต้องการอุปโภคและบริโภคน้ำมันปาล์มที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าปริมาณการผลิต ซึ่งเป็นผล
มาจากการเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลของประเทศผู้ผลิตหลักอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมถึงแนวโน้มการบริโภคน้ำมันปาล์มในประเทศผู้นำเข้าอย่างอินเดียและจีนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียและมาเลเซียมีแนวโน้มลดลง และทำให้สต็อกน้ำมันปาล์มโลกปี 2020 มีแนวโน้มลดลงเหลือ 9.6 ล้านตัน จาก 10.4 ล้านตันในปี 2019 จากสถานการณ์ดังกล่าว อีไอซีคาดว่า ราคาเฉลี่ยน้ำมันปาล์มดิบโลกในปี 2020
มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2,550-2,650 ริงกิตมาเลเซีย/ตัน จากในปี 2019 ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,129 ริงกิตมาเลเซีย/ตัน สอดคล้องกับแนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2020 นโยบายเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล คือตัวแปรหลักที่จะช่วยหนุนให้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของไทยมีแนวโน้มลดลงมาใกล้กับระดับเหมาะสมที่ 0.25 ล้านตัน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันปาล์มดิบในประเทศในปี 2020 จะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 23.0-24.0 บาท/กก. จาก 18.2 บาท/กก. ในปี 2019
อนึ่ง ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบของไทยในปี 2018 กว่า 87% จะถูกใช้ภายในประเทศเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นการบริโภคในภาคครัวเรือนประมาณ 44% และผลิตไบโอดีเซลประมาณ 43% ในขณะที่อีก 13% เป็นการส่งออก ดังนั้น
การเพิ่มการใช้ภายในประเทศจึงเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อสมดุลน้ำมันปาล์มในไทย โดยพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันในไทยส่วนใหญ่ประมาณ 86.3% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดอยู่ในภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพอากาศร้อนชื้นเหมาะแก่การปลูก โดยผลผลิตปาล์มน้ำมันจะถูกนำไปสกัดให้เป็นน้ำมันปาล์มดิบ
ทั้งนี้ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของไทยที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 0.25 ล้านตันตามมติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ โดยในปี 2018 ที่ผ่านมา พบว่า สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของไทยอยู่ที่ 0.47 ล้านตัน สูงกว่าระดับที่เหมาะสมอยู่มาก ซึ่งภาวะน้ำมันปาล์มล้นตลาดดังกล่าวส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันปาล์มดิบของไทยลดลง 21%YOY จาก 24.9 บาท/กก. ในปี 2017 มาอยู่ที่ 19.6 บาท/กก. ในปี 2018 ประกอบกับสถานการณ์น้ำมันปาล์มโลกก็กำลังเผชิญภาวะน้ำมันปาล์มดิบล้นตลาด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันต่อราคาน้ำมันปาล์มของไทยในระยะที่ผ่านมา
สถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบในไทยที่ล้นตลาดและราคาน้ำมันปาล์มดิบที่ตกต่ำลงดังกล่าว ส่งผลให้ภาครัฐออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบในประเทศ โดยปี 2019 ทางภาครัฐได้ออกมาตรการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้ารวม 2 รอบจำนวน 0.36 ล้านตัน โดย กฟผ. ได้ซื้อและใช้แล้ว 0.226 ล้านตัน ส่วนน้ำมันปาล์มดิบที่เหลือจะถูกซื้อจนครบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019 ไปจนถึงปี 2020 ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบถูกดูดซับออกจากตลาดบางส่วน อย่างไรก็ตาม อีไอซีมองว่ามาตรการนี้ได้ผลเพียงระยะสั้นเท่านั้น และในทางกลับกันยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับงบประมาณภาครัฐ เพราะนอกจากจะเป็นการใช้งบประมาณเพื่อซื้อน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังต้องสนับสนุนต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อภาระค่าไฟของผู้บริโภค
สำหรับผลผลิตปาล์มน้ำมันของไทยในปี 2020 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17.8 ล้านตัน จาก 16.8 ล้านตันในปี 2019 โดยเป็นผลมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มสูงขึ้นจากต้นปาล์มที่ปลูกไว้มีผลผลิตมากขึ้นตามอายุ ในส่วนของการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศนั้น คาดว่าการบริโภคในภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเติบโตในอัตราชะลอลงเหลือ 0.8%YOY จาก 1.24 ล้านตันในปี 2019 เป็น 1.25 ล้านตันในปี 2020 เนื่องจากประชาชนมีแนวโน้มหันไปบริโภคน้ำมันพืชชนิดอื่น อย่างน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันปาล์ม
ส่วนน้ำมันปาล์มดิบที่นำไปผลิตไบโอดีเซลนั้น ในอดีตภาครัฐมีมาตรการปรับอัตราผสมน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลให้สอดคล้องกับสภาวะการผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศ กล่าวคือ เมื่อผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดมากจนทำให้เกิดสภาวะน้ำมันปาล์มล้นตลาด ภาครัฐจะเพิ่มอัตราผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล ขณะที่เมื่อผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดน้อย ภาครัฐจะลดอัตราผสมไบโอดีเซลลงเพื่อป้องกันสภาวะน้ำมันปาล์มขาดตลาด อีกทั้ง นโยบายนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ปรับเปลี่ยนการสนับสนุนราคาน้ำมันดีเซลเพื่อจูงใจประชาชนให้หันมาใช้ B10 และ B20 มากขึ้น โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันมาทำให้ราคาน้ำมันดีเซล B10 ต่ำกว่า B7 อยู่ 2 บาท/ลิตร (จากเดิมที่ 1 บาท/ลิตร) และราคาน้ำมันดีเซล B20 ต่ำกว่า B7 อยู่ 3 บาท/ลิตร (จากเดิมที่ 5 บาท/ลิตร) ก่อนที่จะประกาศใช้มาตรการที่กำหนดให้น้ำมันดีเซล B10 เป็นน้ำมันเกรดมาตรฐาน
และให้น้ำมัน B7 และ B20 เป็นน้ำมันทางเลือก นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของไทยในปี 2020 น่าจะอยู่ที่ 0.27 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อยจากปี 2019 เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศยังมีแนวโน้มสูงกว่าราคาคู่แข่ง ทั้งนี้การส่งออกน้ำมันปาล์มของไทยนั้น ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังตลาดอินเดีย และเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมาไทยจะสามารถส่งออกน้ำมันปาล์มดิบมากขึ้นได้ เมื่อราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยอยูในระดับที่ใกล้เคียงกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย สำหรับผลกระทบจากนโยบายลดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคการขนส่งของอียูต่อการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของไทยนั้น อีไอซีมองว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อเนื่องไปถึงปี 2023 เพราะอียูยังคงการนำเข้าน้ำมันปาล์มที่นำไปผลิต ไบโอดีเซลไว้ในระดับเดียวกันกับปี 2019 ประกอบกับไทยและอียูมีการค้าน้ำมันปาล์มดิบกันน้อย อย่างไรก็ตาม
ยังต้องจับตาผลกระทบในระยะกลาง คือ ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป ที่อียูจะค่อย ๆ ทยอยปรับลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มส่วนที่ใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจนเป็นศูนย์ในปี 2030 ที่อาจส่งผลกระทบให้อินโดนีเซียและมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มไปอียูลดลง และอาจหันมาส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังตลาดอินเดียมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของไทยในอินเดียได้ อีกทั้ง ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับริงกิตมาเลเซียและรูเปียห์อินโดนีเซียแข็งค่าขึ้น 37% และ 25% ตามลำดับ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาส่งออกน้ำมันปาล์มของไทยแย่ลง
อีไอซีมองว่า ไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในเชิงโครงสร้างให้เกิดการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือแม้แต่การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร และการต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงจากความผันผวนด้านราคาจากการขายในรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรพื้นฐาน.