เหตุผลอื่นที่เหยื่อไม่กล้าจะแจ้งความคือความอับอาย และความไม่เชื่อถือของตำรวจ จากผลสำรวจของกระทรวงยุติธรรมที่มีผู้ตอบแบบสำรวจ 3,500 คน ที่มีวัย 16 ปีขึ้นไป
โดยในบรรดาผู้ตอบแบบสำรวจในวัย 35 ปี หรือคิดเป็น 1% ระบุว่า พวกเธอเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ เช่น ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และถูกคุกคามทางเพศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ มีเพียง 5 ราย หรือ 14% เท่านั้นที่แจ้งความกับตำรวจ
การสำรวจในประเด็นนี้ จัดทำขึ้นในเดือนม.ค. - ก.พ. และมีการจัดทำผลสำรวจนี้ทุก 5 ปีตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา
จากผลการสำรวจที่ผ่านมาทั้ง 4 ครั้งแสดงให้เห็นว่า มีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายประมาณ 9.7% - 18.5% เท่านั้นที่ไปแจ้งความกับตำรวจ
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จำนวนเหยื่ออาชญากรรมทางเพศที่มีเปอร์เซนต์ต่ำจากผู้ที่ตอบแบบสำรวจชี้ให้เห็นว่า หลายคนไม่ได้ตอบคำถามอย่างซื่อสัตย์ เนื่องจากเหยื่อพยายามปกป้องตัวเองจากความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่เลวร้าย
การไม่มีผู้มาแจ้งความของคดีอาชญากรรมเป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมตำรวจจึงมีความยากลำบากและดิ้นรนอย่างมากในการจับตัวคนร้ายมาขึ้นศาลเพื่อรับโทษ
“ ไม่มีทางเลยที่เปอร์เซนต์จริง ( ของเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ) จะต่ำขนาดนั้น” ซากุระ คามิทานิ ทนายความที่ให้การสนับสนุนผู้ที่เคยตกเป็นเป้าของอาชญากรรมทางเพศให้ความเห็น
“ การให้ความรู้ด้านเพศศึกษาในญี่ปุ่นแย่มาก เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสอนเด็กๆ เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศ เพื่อให้พวกเขารู้ว่าเมื่อไรที่ควรไปแจ้งความ” คามิทานิกล่าว
ทั้งนี้ ผลสำรวจชี้ว่า สำหรับคดีความรุนแรงในครอบครัวและการถูกสะกดรอยติดตาม จำนวนของเหยื่อที่เข้าแจ้งความกับตำรวจอยู่ที่ 11.5% และ 21.4% ตามลำดับ